วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทดลอง VDO


YouTube Video

ขอพระภูมิพล จงทรงพระเจริญ
รักพ่อภาคปฏิบัติ

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พลังงานทดแทน: Solar Electricity ความเข้าใจผิด ที่ต้องช่วยกันสอดส่อง แก้ไข ณ ตะเพิ่นคี่

        การที่พวกเราไปทดลองลงพื้นที่เพื่อนำปรัชญาขององค์ในหลวง ไปสอนคนตะเพิ่นคี่ จากคำเชิญของกลุ่ม “หนึ่งคนให้หลายคนรับ” ของคุณ Hana Batake ทำให้ผมเห็นวิกฤติหนึ่งที่ต้องรีบช่วยกันแก้ไข ด่วนมาก

        พลังงานทดแทน โดยเฉพาะ Solar Electricity เป็นพลังงานทดแทนที่ต้องได้ใช้กันเร็วๆ นี้ เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานมากๆ แล้ว แต่พวกเราแม้แต่คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ประจำก็รู้แค่ เอาไปตากแดดแล้วได้ไฟฟ้าใช้ กรณีที่ผมจะกล่าวถึงคือ Solar Photovoltaic ก็คือแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบันที่ตะเพิ่นคี่มีทุกบ้าน

_MG_8638-2012-05-10-01-57.jpg

ณ วันที่เขียน ที่โรงเรียนมีแผงโซล่าขนาด 135 วัตต์ x 12 แผงใช้กับ

  1. ทีวี 14 นิ้ว 2 เครื่อง
  2. ชุดรับดาวเทียมไกลกังวล
  3. คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
  4. หลอดไฟ Fluorescent 36W 5 หลอด

ก่อนขึ้นไปดำเนินการผมได้สำรวจตรวจสอบ ว่าระบบยังจัดว่าซ่อมบำรุงเล็กน้อยก็จะกลับมาใช้ได้ ขนาดแผงเพียงพอที่จะใช้งาน ถ้าใช้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ครูมนัส จะย้ำว่าเสีย เสื่อม เก่าแล้ว ไม่เพียงพอ ของบซื้อใหม่แล้ว แต่ได้งบมาเพียง ล้านกว่าบาท ไม่พอ อยากให้ช่วยเขียนโครงการเพื่อขอใหม่ให้พอ ตามใบเสนอราคานี้ มูลค่างานเพิ่มคือ 2.8 ล้านบาท

IMG_0457-2012-05-10-01-57.jpg

        คือต้องการแผงอีก 135W อีก 88 แผง ถึงตรงนี้ คำถามคือ โรงเรียนตะเพิ่นคี่ จำนวนนักเรียน 26 คน ขนาด 3 ห้องเรียน ต้องใช้เท่าไหร่ และเมื่อต้องลงทุนมากขนาดนี้เทียบกับเครื่องปั่นไฟและลากสายไฟขึ้นมา 15km ในระยะยาว ควรเลือกอย่างไร

        ต้องดูครับ สิ่งที่สอบถาม ดูรายละเอียดการคำนวนประกอบใบเสนอราคา คือ

  1. คอมพิวเตอร์ 4 เครื่อง
  2. หลอดไฟ Fluorescent 36W 20 หลอด
  3. ตู้เย็น 1 ตู้
  4. เครื่องปั่นนมถั่วเหลือง 1 เครื่อง

        เท่านี้แหละครับ ลองเดาดูว่า ถ้าเป็นบ้านพวกเราในเมืองที่มีไฟฟ้า เงินประมาณ 3-4 ล้านรวมของเก่า จ่ายค่าไฟได้กี่ปี ?

        ทางเลือกที่ 1 การถางป่าเพื่อลากสายไฟมาใช้แค่นี้ ระยะทาง 15 km ทำไม่ได้ในเขตอุทยานและไม่ควรทำ ไม่คุ้มค่ากับต้นไม้ที่ต้องตัดทิ้ง ไม่ต้องลองคำนวนเลยครับ กรณีนี้

        ทางเลือกที่ 2 คือปั่นไฟฟ้าด้วยน้ำมัน Diesel ซึ่งหาได้สะดวก เมื่อเทียบกับด้วยก๊าซ CNG หรือ LPG

                ต้นทุนคิดที่ Diesel ลิตรละ 32 บาท หรือ Bio Diesel(ตามพระราชดำริ) ยิ่งดี ปีหนึ่งจะใช้เงินค่าน้ำมันประมาณ 30,000 บาท

                ซื้อเครื่องปั่นไฟแบบ Inverter ราคาประมาณ 4-6 หมื่นบาท สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้ ไม่เสียและประหยัดน้ำมัน ซื้อใหม่ทุก 3-5 ปีก็ได้

        ทางเลือกที่ 3 คือใช้ระบบโซล่าเซล ก็ได้ครับจะแพงกว่าทางเลือกที่ 2 แน่นอน ยกเว้นปรับอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบโซล่าเซลด้วย เดี๋ยวลงรายละเอียดอีกทีนะครับ

        ขออันเชิญหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่สำคัญอันหนึ่งคือ “เทคโนโลยี เหมาะสม” ผมจะบอกว่าตอนนี้อาจารย์กำลังเข้าใจผิด และไม่รับฟังคนธรรมดาอย่างผม แต่ไม่เป็นไร ผมอธิบายสิ่งที่ผมศึกษาและเข้าใจให้ทุกท่าน ไว้เผื่อใครสามารถแก้ไขได้ หรือเป็นประโยชน์กับโครงการลักษณะเดียวกันช่วยดู ด้วยงบเท่าๆ กัน จะทำได้สัก 10 โรงเรียน 10 เท่า!

        ในความคิดผมนะครับ ทางเลือกที่ 2 เหมาะสมที่สุด ค่าน้ำมันกรณีซื้อต่อปี น่าจะน้อยกว่าค่าบำรุงรักษารายปีของระบบที่เสนอมาด้วยซ้ำ และชาวบ้านทั้งหมดมีอาชีพทางการเกษตรปลูกข้าวโพด ปลูกมัน น่าจะเอามาทำ เอทานอล ได้ กรณีทำเอทานอลก็ ไปใช้เครื่องปั่นไฟเบนซินแทน และการผลิตเอทานอลจากเศษของผลผลิตก็น่าลองทำอยู่ หรือมีวิธีทำ Bio Diesel ก็ได้ถ้ามีผลผลิตเหมาะสม

        ทีนี้ตะเพิ่นคี่ พวกเราได้ขึ้นไปเช็ดถู ซ่อม เดินสายไฟ ซื้อเครื่อง Inverter ขึ้นไปให้ ทำให้อาจารย์เห็นแล้วว่าระบบยังดีอยู่เลย เราเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงานขึ้นไปให้อีก 3 เครื่อง ใช้งานสบายๆ จากที่อาจารย์ต้องการ 4 เครื่อง (ถึงกระนั้นแกก็พูดแต่ไม่พอ ไม่พอ ใช้ไม่ได้) จริงๆ แล้ว ขาดเพียง Inverter ดีๆ หนึ่งตัวราคาประมาณไม่เกิน 20,000 ทุกอย่างจะลื่นไหล และถ้าแก้ไขรายการอุปกรณ์ ดังนี้

  1. ทีวี 14 นิ้ว 2 เครื่อง --> เปลี่ยนเป็น LED TV 24 นิ้ว (ประมาณสองเครื่อง 14,000)
  2. ชุดรับดาวเทียมไกลกังวล
  3. คอมพิวเตอร์ 4 เครื่อง --> มีคอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงานแล้ว 3 ชุด สมมติซื้อใหม่หมด 4 เครื่อง (ไม่เกิน 100,000)
  4. หลอดไฟ Fluorescent 36W 20 หลอด --> เปลี่ยนเป็นหลอด LED จีนชนิดหนึ่งซึ่งผมให้อาจารย์ไว้ลองแล้ว สัก 60 ชุด (40,000)
  5. ตู้เย็น 1 ตู้ --> เปลี่ยนเป็นตู้เย็นระบบ Linear Compressor (80,000)
  6. เครื่องปั่นนมถั่วเหลือง 1 เครื่อง

        ถ้าทำตามที่ผมแนะนำข้างบน รวมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่หาเพิ่มหรือเปลี่ยน ใช้งบ 254,000 สามารถใช้กับแผงโซล่าและแบตเตอรี่เดิมได้เลย เพียงพอ

ทีนี้ใครจะช่วยอธิบายอาจารย์มนัส และช่วยแก้ไขโครงการลักษณะเดียวกันทั่วประเทศได้บ้างครับ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

โรงเรียนตะเพนคี่ สิ่งเล็กน้อยๆ ทางด้านไฟฟ้า สื่อสารและคอมพิวเตอร์

        จากการพูดคุยสังเกตุ หมู่บ้านนี้มีไฟฟ้าใช้แต่ละบ้าน โดยเป็นระบบโซล่าขนาดเล็กสมัย 2548-2549 ได้รับมาทุกหลังคาเรือน ในกรณีบ้านอาจารย์ ไฟฟ้านี้ถูกใช้กับ หลอดไฟ FL 100lm หรือ 400lm เป็นแบบ 220V ใช้กับตู้โทรศัพท์ 470Mhz ขององค์การ ใช้กับเครื่องวิทยุสื่อสารของราชการและเครื่องคอมพิวเตอร์ของอาจารย์หนึ่งเครื่อง (น้ำ ไฟฟ้า อินเตอร์เนตไม่ถึง แต่ไวรัสคอมพิวเตอร์ถึง เต็มเครื่อง)

        แต่สิ่งที่เล่าให้ฟังข้างต้น ก็เสียหรือเสื่อม และในหมู่บ้านไม่มีช่างทางด้านนี้ ตัวอย่างรูปข้างล่างคือแผงโซล่าที่เสีย (เราคงต้องซื้ออะไหล่ หัวแร้ง ตะกั่วขึ้นไป จัดการให้)

IMG_0321-2012-01-31-16-04.jpg

เครื่องวิทยุที่เสีย ใช้การไม่ได้เพราะหนูกัดสาย ก็คงต้องเอาคีมเข้าหัวและหัว RJ45 ขึ้นไปเปลี่ยนให้ใหม่ วิทยุเครื่องนี้ มีทหารเรือที่เคยมาพัก ถอดให้ใช้แทนเครื่องราชการของครูที่นำลงไปซ่อมให้

IMG_0319-2012-01-31-16-04.jpg

พี่ๆ กลุ่มนี้ รับเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ครูไปซ่อม โทรว่าจะขึ้นมาให้พอดิบ พอดี ขึ้นมาก็มองหาเครื่องปั่นไฟ เพราะว่าจะทำผ้าป่าเครื่องปั่นไฟมาให้

_MG_8376-2012-01-31-16-04.jpg

พวกแบตเตอรี่ที่เก็บไฟ ก็เสื่อมสภาพแล้ว ทำให้เก็บไฟฟ้าได้น้อย อยู่ด้านหลังพี่ชายคนกลางบัง และรูปสาวๆ ด้านหลังคือลูกสาวของคุณครู อยากรู้ว่าสวยแค่ไหน ต้องไปด้วยตัวเอง

พอไปถึงโรงเรียน พวกเราทุกคนเห็นเครื่องปั่นไฟใหม่เอี่ยม ตั้งอยู่ในห้องเรียน แต่ครูบอกว่า ขนาด 5,500W แต่เขาบอกว่าห้ามใช้เกิด 1,000W ทั้งๆ ที่เครื่องก็ 13 แรงม้า Oh ผม งง ครับ ตามด้วย อจ. บอกว่าเมื่อได้มาก็ตั้งใจจะให้นักเรียนปั่นนมถั่วเหลือง พอถึงเวลา start อยู่ครึ่งวัน ไม่สำเร็จ ปรากฏว่าผู้บริจาคปิดเครื่องไว้ ไม่ได้ให้กุญแจไว้ รอใบอนุโมทนา !!!

_MG_8387-2012-01-31-16-04.jpg

และนี่คือภาพหน้าห้องที่ผมเห็น จึงถามครูว่า มีไฟฟ้าหรือ แกจึงบอกว่ามีแผงโซล่าด้านขวามุมๆ คือตู้ควบคุมและแบตเตอรี่ ถัดมาเป็นคอมพิวเตอร์สองเครื่อง เจ้าโอ๋พยายามปลุกปล้ำ ยำใหญ่ ก็พบว่าไม่รอด คงเหลือคีบอร์ดที่ใช้ได้ จอเกือบใช้ได้ 1 จอ จะต้องเอาอุปกรณ์ขึ้นไปซ่อมจอ

_MG_8389-2012-01-31-16-04.jpg

_MG_8390-2012-01-31-16-04.jpg

สภาพตู้ควบคุมวันนี้ ที่ใช้ได้คืออุปกรณ์ด้านซ้ายล่าง ส่วนอื่นๆ และที่มองไม่เห็นในภาพล้วยพังหมด วัดไฟดู จากแพงโซล่าก็น่าจะยังดีอยู่ เพียงจัดหา ซ่อมแซมแก้ไขระบบในตู้ใหม่ เดินสายใหม่เพราะหนูแทะ ก็จะน่าจะทำให้ ทีวีดาวเทียมไกลกังวลใช้งานได้่ พร้อมคอมพืิวเตอร์(ถ้ามีผู้บริจาคเครื่อง) และเครื่องปั่นนมถั่วเหลือง

_MG_8409-2012-01-31-16-04.jpg

สภาพสายไฟ ที่ไปที่หน้าตู้ Volt และ Amp มิเตอร์ จึงไม่ทำงาน (จริงๆ แล้วมันไม่น่าจะยังใช้อยู่ได้ด้วยซ้ำ)

_MG_8401-2012-01-31-16-04.jpg

แผงโซล่า ที่แค่หาผ้า กับน้ำ ทำความสะอาดก็พอ

_MG_8391-2012-01-31-16-04.jpg

แบตเตอร์รี่ขนาด 200 AHr จำนวนสองลูก และเครื่อง inverter ตัวล่างพัง เหลือแต่ตัวบน

_MG_8393-2012-01-31-16-04.jpg

Oh TDK ขณะพยายามยำเครื่อง

_MG_8394-2012-01-31-16-04.jpg

พี่กลุ่มนี้ จะลงไปรวบรวมแบบเรียนขึ้นมาให้น้องๆ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

โรงเรียนตะเพินคี่ สิ่งที่ครูมนัสฝันจะเห็น

        จากปัญหาที่นายทุนและข้าราชการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเพียงอย่างเดียว คือปลูกข้าวโพดสำหรับทำป๊อบคอร์น กิโลละ 5 บาท แล้วเปลี่ยนเป็นปลูกข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ กิโลละ 2 บาท เนื่องจากขายง่ายกว่า มีการปลูกมันสำปะหลังให้เห็นบ้าง มีการปลูกข้าวในช่วงหน้าฝนไว้กินเอง ว่างจากช่วงไร่นาก็อาจลงไปรับจ้างตัดอ้อย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีเดิมที่ชาวป่า ชาวเขาอย่างกระเหรี่ยงสามารถใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติรอบๆ ตัวได้ หลายบ้านมีทีวีดาวเทียม หลายบ้านมีรถเครื่องหรือรถกระบะ ไฟฟ้าที่ชาวบ้านมีใช้คือระบบ Solar Cell ในปี 2549 ก็ใช้ไฟส่องสว่าง ดูทีวีได้นิดหน่อย สองทุ่มไฟก็หมดกัน

        แนวทาง “ตามแนวทฤษฎีใหม่” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” กลายเป็นเรื่องที่ชาวบ้านไม่เข้าใจ ยากที่จะรับไปใช้ ทุกวันนี้พืชผักต่างๆ อย่างมะเขือก็ไปซื้อเอาแทนที่จะปลูกไว้รอบๆ บ้าน การเลี้ยงสัตว์ ยกเว้นเลี้ยงปลา ชาวกระเหรี่ยงที่นี่ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ เว้นปลา กุ้ง

        อจ.มนัส จึงอยากให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ฝึกการปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น เพาะเห็ด ให้พึ่งพาตัวเองได้ (น้ำและโรงเพาะชำ)

        การจะปลูกในที่ดินของโรงเรียน มีปัญหาอยู่ในเรื่องของน้ำ หากจะนำน้ำบาดาลลึก 42 เมตรที่ กรมชลฯ เจาะไว้ให้มาใช้ เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก ครูคิดว่าลำบากเกินไป อีกทางคือให้เด็กเดินประมาณ 300 เมตร ลงไปที่ห้วย ตักน้ำมาใช้สำหรับแปลงเกษตร

        

        จีงได้ขอที่ดินของภรรยาชาวกระเหรี่ยงซึ่งห่างโรงเรียนไป 400 เมตรติดลำห้วยขนาด 5 ไร่ มีการติดตั้งระบบน้ำหยด พานักเรียนมาช่วยกันเพาะปลูกและนำไปแจกจ่าย แต่ในภายหลังมีผู้ปกครองหลายคนมองว่า ใช้งานลูกหลาน ลงไปหิ้วน้ำ ขุดดินมากเกินไป (อาจคิดถึงว่าใช้บนที่ดินส่วนตัว ประโยชน์ส่วนตัว) จนต้องถูกสั่งย้าย ปัจจุบันกำลังพยายามเริ่มดำเนินการใหม่ เด็กๆ รุ่นที่มีผู้ปกครองที่ไม่เห็นด้วยผ่านไปแล้ว

_MG_8452-2012-01-31-01-49.jpg

_MG_8444-2012-01-31-01-49.jpg

_MG_8451-2012-01-31-01-49.jpg

ตอนแรกผมถามว่าเนินนี่สูง 10 เมตรได้ไหม เจ้า Oh TDK บอกว่าเกินแล้วก็วิ่งไปวัดความสูง(ฟิตจริง)

1. ระบบน้ำ อจ. อยากให้ที่โรงเรียนมีระบบสูบน้ำบาดาลด้วยไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์เพื่อดึงน้ำขึ้นมาเก็บไว้สำหรับห้องน้ำ แปลงเกษตรและการทำนมถั่วเหลือง

_MG_8402-2012-01-31-01-49.jpg

_MG_8404-2012-01-31-01-49.jpg

ที่เก็บน้ำขนาดใหญ่ของโรงเรียนรวมแล้วน่าจะประมาณ 20,000 ลิตร

_MG_8400-Version2-2012-01-31-01-49.jpg_MG_8406-2012-01-31-01-49.jpg

_MG_8399-2012-01-31-01-49.jpg_MG_8405-2012-01-31-01-49.jpg

  1. 2. ทำเรือนเพาะชำให้เสร็จ ขนาด 8x12 เมตร ที่ต้องดำเนินการต่อจากอาสาชุดก่อนคือก่อกำแพงอิฐบล๊อคและเทพื้นปูน

_MG_8395-2012-01-31-01-49.jpg

_MG_8417-2012-01-31-01-49.jpg

อจ.มนัส อยากให้เด็กๆ ได้ฝึกนั่งสมาธิในซุ้มพระ ขนาด 2x3 เมตร

_MG_8414-2012-01-31-01-49.jpg

อจ.มนัส อยากให้ปรับปรุงอ่างแปรงฟัน ที่กำลังจะล้ม และยกพื้นให้เด็กๆ ตัวเล็ก

_MG_8396-2012-01-31-01-49.jpg

โยกไปมา จะล้มอยู่แล้ว น่าจะต้องรื้อออก ทำใหม่ 4 เสา ของเดิมขนาด 1.5x3 เมตร

_MG_8398-2012-01-31-01-49.jpg

_MG_8411-2012-01-31-01-49.jpg

**ยังไม่มีก๊อกน้ำและการต่อน้ำจากถังเก็บมาด้วย

อจ.มนัส อยากให้เด็กๆ ฝึกทำน้ำนมถั่วเหลือง

        อันนี้ต้องใช้ทุนซื้อถั่วเหลือง น้ำตาล และไฟฟ้าสำหรับเครื่องปั่นกำลังประมาณ 500 Watt

อจ.มนัส แนะนำให้ช่วยกันปลูกจิตสำนึกให้ชาวบ้าน เรื่องความสะอาด จิตสำนึกสาธารณะ

        ถ้าสังเกตุ ในหมู่บ้าน รอบๆ บ้านและที่สาธารณะ จะมีขยะกระจัดกระจาย ความมีสำนีกสาธารณะ เช่น ระบบประปาเสีย ช่วยกันซ่อมก็ยังไม่มี ต่างคนต่างอยู่ เป็นความเห็นของ อจ ต่อเรื่องเนื้อหาใน "ศูนย์แสดงพระอัจฉริยภาพ และเศรษฐกิจพอเพียง"

        

"ศูนย์แสดงพระอัจฉริยภาพ และเศรษฐกิจพอเพียง" ศูนย์เด็กเล็ก หมู่บ้านตะเพินคี่ สุพรรณบุรี

        เมื่อวานกลับมาจากการไปตะเพินคี่เพื่อหาคำตอบด้านรายละเอียดของ "ศูนย์แสดงพระอัจฉริยภาพ และเศรษฐกิจพอเพียง" ที่กลุ่มพวกเราได้รับมอบหมายจาก แม่งาน “โครงการหนึ่งคนให้ หลายคนรับ” ของกลุ่มคุณอุ๊และเพื่อนๆ %2525E0%2525B8%25258A%2525E0%2525B8%2525B8%2525E0%2525B9%252589%2525E0%2525B8%2525A1-2012-01-31-00-56.png ภายในอาคารขนาด 5x8 = 40 ตร.ม _MG_8430-2012-01-31-00-56.jpg มองจากด้านหน้าเฉียงๆ _MG_8434-2012-01-31-00-56.jpg ผนังด้านขวา _MG_8435-2012-01-31-00-56.jpg ผนังด้านซ้าย _MG_8431-2012-01-31-00-56.jpg เก้าอี้ไม้และสภาพพื้นปูน ที่เต็มไปด้วยฝุ่นและขยะ เนื้อหา _MG_8432-2012-01-31-00-56.jpg _MG_8433-2012-01-31-00-56.jpg _MG_8437-2012-01-31-00-56.jpg _MG_8436-2012-01-31-00-56.jpg ตำแหน่งของศูนย์         อยู่บริเวณขอบชุมชน ตรงศูนย์เด็กเล็ก วันที่ไปพบว่ารกร้าง ไม่มีผู้คนรอบๆ บริเวณ ลักษณะศูนย์ถูกทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์ อาจเคยใช้นานแล้วหน้าศูนย์จึงเต็มไปด้วยหญ้าสูงและสิ่งสกปรก ชุมชนไม่ดูแลรักษา ส่วนเรีื่องขยะเป็นด้วยลักษณะของคนในชุมชนเอง ไม่ใส่ใจเรื่องการรักษาความสะอาด โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะ %2525E0%2525B8%2525AB%2525E0%2525B8%2525A1%2525E0%2525B8%2525B9%2525E0%2525B9%252588%2525E0%2525B8%25259A%2525E0%2525B9%252589%2525E0%2525B8%2525B2%2525E0%2525B8%2525992-2012-01-31-00-56.png สิ่งที่ทีมงานต้องพิจารณาเป็นการด่วนคือ
  1. เมื่อปรับปรุงแล้ว ทำไว้ให้ใครดู
  2. ทำอย่างไร ชาวบ้านจะใช้และดูแลรักษา
  3. เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้าน ที่เป็นชาวกระเหรี่ยงซึ่งมีวิธีชีวิตเปลี่ยนไป จากการพึ่งพาธรรมชาติ เป็นการปลูกพืชชนิดเดียวเพื่อขายนายทุน คือข้าวโพดอาหารสัตย์ กก.ละ 2 บาทและมันสำปะหลัง มีการปลูกข้าวไว้ทานเองด้วย แต่ไม่มีการปลูกผัก ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากกระเหรี่ยงไม่เลี้ยงสัตว์ เป็นไปตามกฎ
  4. ต้องสรุปว่าจะทำมาก น้อยแค่ไหน ไม่ควรทำหรือลงทุนมากเกินไป หรือจะทิ้งไว้เฉยๆ ในสภาพแบบนี้
  5. กลุ่ม “รักพ่อภาคปฏิบัติ” คาดว่าไปกัน 15-20 คน จะแบ่งงานอย่างไร จะทำงานอื่นๆ นอกจากเรื่องที่รับผิดชอบนี้หรือไม่ ในเวลา 2 วันที่มี
  6. วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

จำที่พ่อสอน: "พึ่งตนเอง ประหยัดพลังงาน" พลังงานทดแทนตอนที่ 1

        phoenix-first-solar-panels-photo2536-2012-01-19-15-18.jpg

        ที่ผมหยิบอัญเชิญคำสอนของพ่อ ส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงว่า “ให้ประหยัดพลังงาน” แต่มาเขียนพลังงานทดแทนเพราะว่า ความสำคัญสุดท้ายแล้วอยู่ที่การประหยัด การใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช้ฟุ่มเฟือย ไม่ใช้ว่าเมื่อเราสามารถมีพลังงานทดแทนแล้ว เราก็ใช้กันสบายใจสุรุ่ยสุร่าย

        พลังงานทดแทนน้ำมันฟอสซิลมีมากมาย ที่คนที่ห่วงสิ่งแวดแล้วและความยั่งยืนทั่วโลกสนใจคือ Renewable Energy คือพลังงานที่ใช้ไปแล้วก็มีมาใหม่ ไม่ใช่พอใช้หมดต้องรออีกพันล้านปีอย่่างเชื้อเพลิงฟอสซิล

hydrate-2012-01-19-15-18.jpg

        แล้วก็ยังมีพลังงานทางเลือกที่ใช้แล้วหมดไปอีกเยอะเช่น ต้นไม้, ถ่านหิน, Methane hydrates, นิวเคลีย, Hydrogen etc. ไว้คุยกันทีหลัง

Renewable Energy (Solar Energy)

        วิธีการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้มีหลายรูปแบบ ที่คนมันจะนึกถึงเป็นอย่างแรกคือ Solar Cell ถ้าเป็นชาวบ้านก็จะนึกถึงเนื้อแดดเดียวกับตากผ้า ส่วนที่ผมได้ติดตามผ่านหูผ่านตามา

  1. Solar Cell ผลิตกระแสไฟฟ้า
  2. Solar Concentrator ผลิตกระแสไฟฟ้า
  3. Solar Wind Tower ผลิตกระแสไฟฟ้า
  4. ทำความร้อนให้น้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
  5. พลังงานน้ำ เป็นพลังงานแสดงอาทิตย์ทางอ้อม คือแดดเผาน้ำส่วนใหญ่เป็นน้ำทะเล แล้วกลายเป็นฝนตกในที่สูงไหลลงมา
  6. พลังงานลม ก็เป็นพลังงานแสดงอาทิตย์ทางอ้อม
  7. พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้จากพืช คือพืชประมาณว่าสามารถรับพลังงานแสดงอาทิตย์มาใช้ได้ 12% แล้วเราเอาต้นพืชมาใช้ ส่วนปาล์มเป็นพืชพิเศษที่เก็บพลังงานแสดงอาทิตย์ได้ 14%
        บางคนจะไม่นับ 5-7 เป็น Renewable Energy เพราะทำมันมีความจำกัดเช่น พืชโตช้าและใช้พลังงานให้ตัวเองมีชีวิตอยู่ด้วย ส่วนการสร้างเขื่อนทุกวันนี้ที่ทำได้ คุ้มก็ทำกันไปจนจะไม่เหลือแล้ว เขื่อนในหลายๆ พื้นที่ต้องแลกด้วยป่าฝน พืชและสัตว์จำนวนมาก ROI ไม่คุ้ม

“ให้ประหยัดพลังงาน”

        การประหยัดพลังงานต้องทำอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น เชื่อไหมครับว่า หลอดไส้ให้แสงสว่าง 1% ของพลังงานที่ใส่ลงไปอีก 99% เป็นความร้อนในทันที แล้วเราต้องเสียพลังงานทำความเย็นเพิ่มให้ 99% ที่เราไม่ใช้ด้วย

        อีกตัวอย่างคือการเดินทางโดยการขับรถยนต์ เดี๋ยวผมมาต่อตอนสองนะครับ

“ตอนสองจะพูดถึง         Solar Cell และพลังงานที่ใช้ในการเดินทาง”