วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ทดลอง VDO


YouTube Video

ขอพระภูมิพล จงทรงพระเจริญ
รักพ่อภาคปฏิบัติ

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พลังงานทดแทน: Solar Electricity ความเข้าใจผิด ที่ต้องช่วยกันสอดส่อง แก้ไข ณ ตะเพิ่นคี่

        การที่พวกเราไปทดลองลงพื้นที่เพื่อนำปรัชญาขององค์ในหลวง ไปสอนคนตะเพิ่นคี่ จากคำเชิญของกลุ่ม “หนึ่งคนให้หลายคนรับ” ของคุณ Hana Batake ทำให้ผมเห็นวิกฤติหนึ่งที่ต้องรีบช่วยกันแก้ไข ด่วนมาก

        พลังงานทดแทน โดยเฉพาะ Solar Electricity เป็นพลังงานทดแทนที่ต้องได้ใช้กันเร็วๆ นี้ เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานมากๆ แล้ว แต่พวกเราแม้แต่คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ประจำก็รู้แค่ เอาไปตากแดดแล้วได้ไฟฟ้าใช้ กรณีที่ผมจะกล่าวถึงคือ Solar Photovoltaic ก็คือแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบันที่ตะเพิ่นคี่มีทุกบ้าน

_MG_8638-2012-05-10-01-57.jpg

ณ วันที่เขียน ที่โรงเรียนมีแผงโซล่าขนาด 135 วัตต์ x 12 แผงใช้กับ

  1. ทีวี 14 นิ้ว 2 เครื่อง
  2. ชุดรับดาวเทียมไกลกังวล
  3. คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
  4. หลอดไฟ Fluorescent 36W 5 หลอด

ก่อนขึ้นไปดำเนินการผมได้สำรวจตรวจสอบ ว่าระบบยังจัดว่าซ่อมบำรุงเล็กน้อยก็จะกลับมาใช้ได้ ขนาดแผงเพียงพอที่จะใช้งาน ถ้าใช้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ครูมนัส จะย้ำว่าเสีย เสื่อม เก่าแล้ว ไม่เพียงพอ ของบซื้อใหม่แล้ว แต่ได้งบมาเพียง ล้านกว่าบาท ไม่พอ อยากให้ช่วยเขียนโครงการเพื่อขอใหม่ให้พอ ตามใบเสนอราคานี้ มูลค่างานเพิ่มคือ 2.8 ล้านบาท

IMG_0457-2012-05-10-01-57.jpg

        คือต้องการแผงอีก 135W อีก 88 แผง ถึงตรงนี้ คำถามคือ โรงเรียนตะเพิ่นคี่ จำนวนนักเรียน 26 คน ขนาด 3 ห้องเรียน ต้องใช้เท่าไหร่ และเมื่อต้องลงทุนมากขนาดนี้เทียบกับเครื่องปั่นไฟและลากสายไฟขึ้นมา 15km ในระยะยาว ควรเลือกอย่างไร

        ต้องดูครับ สิ่งที่สอบถาม ดูรายละเอียดการคำนวนประกอบใบเสนอราคา คือ

  1. คอมพิวเตอร์ 4 เครื่อง
  2. หลอดไฟ Fluorescent 36W 20 หลอด
  3. ตู้เย็น 1 ตู้
  4. เครื่องปั่นนมถั่วเหลือง 1 เครื่อง

        เท่านี้แหละครับ ลองเดาดูว่า ถ้าเป็นบ้านพวกเราในเมืองที่มีไฟฟ้า เงินประมาณ 3-4 ล้านรวมของเก่า จ่ายค่าไฟได้กี่ปี ?

        ทางเลือกที่ 1 การถางป่าเพื่อลากสายไฟมาใช้แค่นี้ ระยะทาง 15 km ทำไม่ได้ในเขตอุทยานและไม่ควรทำ ไม่คุ้มค่ากับต้นไม้ที่ต้องตัดทิ้ง ไม่ต้องลองคำนวนเลยครับ กรณีนี้

        ทางเลือกที่ 2 คือปั่นไฟฟ้าด้วยน้ำมัน Diesel ซึ่งหาได้สะดวก เมื่อเทียบกับด้วยก๊าซ CNG หรือ LPG

                ต้นทุนคิดที่ Diesel ลิตรละ 32 บาท หรือ Bio Diesel(ตามพระราชดำริ) ยิ่งดี ปีหนึ่งจะใช้เงินค่าน้ำมันประมาณ 30,000 บาท

                ซื้อเครื่องปั่นไฟแบบ Inverter ราคาประมาณ 4-6 หมื่นบาท สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านได้ ไม่เสียและประหยัดน้ำมัน ซื้อใหม่ทุก 3-5 ปีก็ได้

        ทางเลือกที่ 3 คือใช้ระบบโซล่าเซล ก็ได้ครับจะแพงกว่าทางเลือกที่ 2 แน่นอน ยกเว้นปรับอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบโซล่าเซลด้วย เดี๋ยวลงรายละเอียดอีกทีนะครับ

        ขออันเชิญหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่สำคัญอันหนึ่งคือ “เทคโนโลยี เหมาะสม” ผมจะบอกว่าตอนนี้อาจารย์กำลังเข้าใจผิด และไม่รับฟังคนธรรมดาอย่างผม แต่ไม่เป็นไร ผมอธิบายสิ่งที่ผมศึกษาและเข้าใจให้ทุกท่าน ไว้เผื่อใครสามารถแก้ไขได้ หรือเป็นประโยชน์กับโครงการลักษณะเดียวกันช่วยดู ด้วยงบเท่าๆ กัน จะทำได้สัก 10 โรงเรียน 10 เท่า!

        ในความคิดผมนะครับ ทางเลือกที่ 2 เหมาะสมที่สุด ค่าน้ำมันกรณีซื้อต่อปี น่าจะน้อยกว่าค่าบำรุงรักษารายปีของระบบที่เสนอมาด้วยซ้ำ และชาวบ้านทั้งหมดมีอาชีพทางการเกษตรปลูกข้าวโพด ปลูกมัน น่าจะเอามาทำ เอทานอล ได้ กรณีทำเอทานอลก็ ไปใช้เครื่องปั่นไฟเบนซินแทน และการผลิตเอทานอลจากเศษของผลผลิตก็น่าลองทำอยู่ หรือมีวิธีทำ Bio Diesel ก็ได้ถ้ามีผลผลิตเหมาะสม

        ทีนี้ตะเพิ่นคี่ พวกเราได้ขึ้นไปเช็ดถู ซ่อม เดินสายไฟ ซื้อเครื่อง Inverter ขึ้นไปให้ ทำให้อาจารย์เห็นแล้วว่าระบบยังดีอยู่เลย เราเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงานขึ้นไปให้อีก 3 เครื่อง ใช้งานสบายๆ จากที่อาจารย์ต้องการ 4 เครื่อง (ถึงกระนั้นแกก็พูดแต่ไม่พอ ไม่พอ ใช้ไม่ได้) จริงๆ แล้ว ขาดเพียง Inverter ดีๆ หนึ่งตัวราคาประมาณไม่เกิน 20,000 ทุกอย่างจะลื่นไหล และถ้าแก้ไขรายการอุปกรณ์ ดังนี้

  1. ทีวี 14 นิ้ว 2 เครื่อง --> เปลี่ยนเป็น LED TV 24 นิ้ว (ประมาณสองเครื่อง 14,000)
  2. ชุดรับดาวเทียมไกลกังวล
  3. คอมพิวเตอร์ 4 เครื่อง --> มีคอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงานแล้ว 3 ชุด สมมติซื้อใหม่หมด 4 เครื่อง (ไม่เกิน 100,000)
  4. หลอดไฟ Fluorescent 36W 20 หลอด --> เปลี่ยนเป็นหลอด LED จีนชนิดหนึ่งซึ่งผมให้อาจารย์ไว้ลองแล้ว สัก 60 ชุด (40,000)
  5. ตู้เย็น 1 ตู้ --> เปลี่ยนเป็นตู้เย็นระบบ Linear Compressor (80,000)
  6. เครื่องปั่นนมถั่วเหลือง 1 เครื่อง

        ถ้าทำตามที่ผมแนะนำข้างบน รวมอุปกรณ์ไฟฟ้าที่หาเพิ่มหรือเปลี่ยน ใช้งบ 254,000 สามารถใช้กับแผงโซล่าและแบตเตอรี่เดิมได้เลย เพียงพอ

ทีนี้ใครจะช่วยอธิบายอาจารย์มนัส และช่วยแก้ไขโครงการลักษณะเดียวกันทั่วประเทศได้บ้างครับ