จากปัญหาที่นายทุนและข้าราชการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเพียงอย่างเดียว คือปลูกข้าวโพดสำหรับทำป๊อบคอร์น กิโลละ 5 บาท แล้วเปลี่ยนเป็นปลูกข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ กิโลละ 2 บาท เนื่องจากขายง่ายกว่า มีการปลูกมันสำปะหลังให้เห็นบ้าง มีการปลูกข้าวในช่วงหน้าฝนไว้กินเอง ว่างจากช่วงไร่นาก็อาจลงไปรับจ้างตัดอ้อย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีเดิมที่ชาวป่า ชาวเขาอย่างกระเหรี่ยงสามารถใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติรอบๆ ตัวได้ หลายบ้านมีทีวีดาวเทียม หลายบ้านมีรถเครื่องหรือรถกระบะ ไฟฟ้าที่ชาวบ้านมีใช้คือระบบ Solar Cell ในปี 2549 ก็ใช้ไฟส่องสว่าง ดูทีวีได้นิดหน่อย สองทุ่มไฟก็หมดกัน
แนวทาง “ตามแนวทฤษฎีใหม่” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” กลายเป็นเรื่องที่ชาวบ้านไม่เข้าใจ ยากที่จะรับไปใช้ ทุกวันนี้พืชผักต่างๆ อย่างมะเขือก็ไปซื้อเอาแทนที่จะปลูกไว้รอบๆ บ้าน การเลี้ยงสัตว์ ยกเว้นเลี้ยงปลา ชาวกระเหรี่ยงที่นี่ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ เว้นปลา กุ้ง
อจ.มนัส จึงอยากให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ ฝึกการปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น เพาะเห็ด ให้พึ่งพาตัวเองได้ (น้ำและโรงเพาะชำ)
การจะปลูกในที่ดินของโรงเรียน มีปัญหาอยู่ในเรื่องของน้ำ หากจะนำน้ำบาดาลลึก 42 เมตรที่ กรมชลฯ เจาะไว้ให้มาใช้ เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก ครูคิดว่าลำบากเกินไป อีกทางคือให้เด็กเดินประมาณ 300 เมตร ลงไปที่ห้วย ตักน้ำมาใช้สำหรับแปลงเกษตร
จีงได้ขอที่ดินของภรรยาชาวกระเหรี่ยงซึ่งห่างโรงเรียนไป 400 เมตรติดลำห้วยขนาด 5 ไร่ มีการติดตั้งระบบน้ำหยด พานักเรียนมาช่วยกันเพาะปลูกและนำไปแจกจ่าย แต่ในภายหลังมีผู้ปกครองหลายคนมองว่า ใช้งานลูกหลาน ลงไปหิ้วน้ำ ขุดดินมากเกินไป (อาจคิดถึงว่าใช้บนที่ดินส่วนตัว ประโยชน์ส่วนตัว) จนต้องถูกสั่งย้าย ปัจจุบันกำลังพยายามเริ่มดำเนินการใหม่ เด็กๆ รุ่นที่มีผู้ปกครองที่ไม่เห็นด้วยผ่านไปแล้ว
ตอนแรกผมถามว่าเนินนี่สูง 10 เมตรได้ไหม เจ้า Oh TDK บอกว่าเกินแล้วก็วิ่งไปวัดความสูง(ฟิตจริง)
1. ระบบน้ำ อจ. อยากให้ที่โรงเรียนมีระบบสูบน้ำบาดาลด้วยไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์เพื่อดึงน้ำขึ้นมาเก็บไว้สำหรับห้องน้ำ แปลงเกษตรและการทำนมถั่วเหลือง
ที่เก็บน้ำขนาดใหญ่ของโรงเรียนรวมแล้วน่าจะประมาณ 20,000 ลิตร
- 2. ทำเรือนเพาะชำให้เสร็จ ขนาด 8x12 เมตร ที่ต้องดำเนินการต่อจากอาสาชุดก่อนคือก่อกำแพงอิฐบล๊อคและเทพื้นปูน
อจ.มนัส อยากให้เด็กๆ ได้ฝึกนั่งสมาธิในซุ้มพระ ขนาด 2x3 เมตร
อจ.มนัส อยากให้ปรับปรุงอ่างแปรงฟัน ที่กำลังจะล้ม และยกพื้นให้เด็กๆ ตัวเล็ก
โยกไปมา จะล้มอยู่แล้ว น่าจะต้องรื้อออก ทำใหม่ 4 เสา ของเดิมขนาด 1.5x3 เมตร
**ยังไม่มีก๊อกน้ำและการต่อน้ำจากถังเก็บมาด้วย
อจ.มนัส อยากให้เด็กๆ ฝึกทำน้ำนมถั่วเหลือง
อันนี้ต้องใช้ทุนซื้อถั่วเหลือง น้ำตาล และไฟฟ้าสำหรับเครื่องปั่นกำลังประมาณ 500 Watt
อจ.มนัส แนะนำให้ช่วยกันปลูกจิตสำนึกให้ชาวบ้าน เรื่องความสะอาด จิตสำนึกสาธารณะ
ถ้าสังเกตุ ในหมู่บ้าน รอบๆ บ้านและที่สาธารณะ จะมีขยะกระจัดกระจาย ความมีสำนีกสาธารณะ เช่น ระบบประปาเสีย ช่วยกันซ่อมก็ยังไม่มี ต่างคนต่างอยู่ เป็นความเห็นของ อจ ต่อเรื่องเนื้อหาใน "ศูนย์แสดงพระอัจฉริยภาพ และเศรษฐกิจพอเพียง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น